วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรงแรมเชียงใหม่เกต ขอเสนอ งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่










http://www.chiangmaigatehotel.com/

โรงแรมเชียงใหม่เกต
ขอเสนอ งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ 31 - 3 พ.ย 2552

Chiang Mai Yi Peng Festival 2009
Oct 31, 2009 - Nov 3, 2009Tha Phae Gate, banks of Ping River, Chiang Mai Municipal Office Changwat Chiang Mai
HIghlights :An amazing procession of hanging lanterns, Krathong design contest, Miss Yi Peng beauty contest, light and sound presentation in Ping River, the ancient Thai Lanna Krathong activities, local cultural performances, and local handicrafts market in Lanna style.
For more information, Please contactChinag Mai Municipality Tel. 66 (0) 5325 5478, 66(0) 5323 3178TAT Chiang Mai Tel. 66 (0) 5324 8604, 66 (0) 5324 8607Website : http://www.loikrathong.net/ http://www.tourismthailand.org/ http://www.tatchiangmai.org/
Source: Tourism Authority of ThailandLast Update : 2009-10-09 17:13:50Remark : Schedule is subject to change due to appropriate timing, please check with TAT directly again http://thai.tourismthailand.org/
งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่
31 ต.ค. 2552 - 3 พ.ย. 2552ณ ช่วงประตูท่าแพ, หน้าสำนักงานเทศบาล จังหวัดเชียงใหม่
“สืบฮีต สานฮอย ต๋ามโคมผ่อกอย ยี่เป็งล้านนา”
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงใหม่ กำหนดจัดงาน “ประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่” “สืบฮีต สานฮอย ต๋ามโคมผ่อกอย ยี่เป็งล้านนา” หรือ Chiang Mai “Yee Peng” (Loy Krathong Festival) ขึ้น ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2552 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านความผสมผสานระหว่างดนตรีล้านนากับดนตรีสากล อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสกับเยาวชนในเขตจังหวัดภาคเหนือได้แสดงความสามารถในด้านดนตรี และศิลปวัฒนธรรมภายในงานอีกด้วย
กำหนดการ เวลา กิจกรรม สถานที่
31 ตุลาคม 2552 17.00 – 23.00 น. การแสดงสินค้าหัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องเขิน ถนนวัวลาย
18.00 – 24.00 น. การประกวดร้องเพลงไทยเพลงลูกทุ่ง และการแสดงศิลปะพื้นบ้าน หน้าสำนักงานเทศบาล
1 พฤศจิกายน 2552 17.00 – 23.00 น. การแสดงสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา ถนนคนเดิน ถนนราชดำเนิน
18.00 – 19.00 น. พิธีเปิดงาน “ประเพณีเดือนยี่เป็ง ประจำปี 2552” ข่วงประตูท่าแพ
18.00 – 22.00 น. ขบวนแห่โคมยี่เป็ง ครั้งที่ 18 ย่านไนท์บาซาร์ ข่วงประตูท่าแพ – ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่าร์
18.00 – 24.00 น. การประกวดหนูน้อยยี่เป็ง หน้าสำนักงานเทศบาล
1-2 พฤศจิกายน 2552 18.00 – 24.00 น. การประกวดเทพียี่เป็งเชียงใหม่ ข่วงประตูท่าแพ
1-3 พฤศจิกายน 2552 ตลอดทั้งวัน การจัดซุ้มประตูป่า วัดในเมืองเชียงใหม่
09.00 – 21.00 น. นิทรรศการ “สืบสานตำนานโคมยี่เป็งล้านนา” วัดอินทขิล
09.00 – 22.00 น. วัฒนธรรมชนเผ่า 6 เผ่า, ชมเขาวงกต,เทศน์มหาชาติ วัดเจ็ดสิน
ประเพณีตั้งธรรมหลวง, ตามขันข้าว, แข่งขันโคมไฟลอดบ่วง วัดโลกโมฬี
10.00 – 23.00 น. สืบฮีต สานฮอย ฮอมปอย ไหว้สาพระสิริมังคลายี่เป็ง พุทธสถานเชียงใหม่
18.00 – 24.00 น. การจัดลานโคมยี่เป็งล้านนาเทิดพระเกียรติฯ ข่วงประตูท่าแพ
18.00 – 22.00 น. “ประทีปเบิกฟ้า ยี่เป็งล้านนาเชียงใหม่" ประตูช้างเผือก – ประตูเชียงใหม่
18.00 – 24.00 น. การประกวดกระทงลอยน้ำ และกระทง VIP ลำน้ำปิงหน้าเทศบาล – สะพานนวรัฐ
20.00 – 22.00 น. การแสดงแสง สี เสียง กลางลำน้ำปิง หน้าสำนักงานเทศบาล
2 พฤศจิกายน 2552 08.00 – 10.30 น. พิธีบวงสรวงศาลพระภูมิ, เจดีย์ขาว,ขอขมาแม่น้ำปิง หน้าเทศบาล, ท่าน้ำศรีโขง
09.00 – 12.00 น. การประกวดโคมลอย และโคมลอยยักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาล
09.00 – 17.00 น. การประกวดกระทงฝีมือใบตอง ดอกไม้สด หน้าสำนักงานเทศบาล
09.00 – 17.00 น. การแข่งขันกีฬาทางน้ำ ถ่อแพ, ดำน้ำ, พายกาละมัง ลำน้ำปิงหน้าสำนักงานเทศบาล
18.00 – 23.00 น. การประกวดขบวนแห่กระทงเล็ก ข่วงประตูท่าแพ – หน้าเทศบาล
2-3 พฤศจิกายน 2552 19.00 – 24.00 น. การจุดพลุ ถวายเป็นพุทธบูชา แพกลางน้ำหน้าเทศบาล
19.00 – 24.00 น. การปล่อยกระทงสายสืบสานล้านนา ลำน้ำปิงหน้าสำนักงานเทศบาล
3 พฤศจิกายน 2552 18.00 – 24.00 น. การประกวดขบวนแห่กระทงใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทานฯ ข่วงประตูท่าแพ – หน้าสำนักงานเทศบาล
18.00 – 23.00 น. “อนุรักษ์วัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณ๊ยี่เป็ง”
สอบถามรายละเอียดเทศบาลนครเชียงใหม่ โทร. 0 5325 5478, 0 5323 3178การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5324 8604, 0 5324 8607Website : http://www.loikrathong.net/
ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
แก้ไขล่าสุด : 2009-10-09 17:13:50หมายเหตุ : เนื่องจากกำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม กรุณาตรวจสอบข้อมูลจาก ททท. โดยตรงที่ http://thai.tourismthailand.org/

ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง

ลอยกระทง (Loy Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"
ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว
เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทง คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้ 1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา 2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร 3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา 4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ 5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า 6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก 7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททาการลอยกระทงในปัจจุบัน การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
เหตุผลของการลอยกระทง สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้ 1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย 2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย 3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ 4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล "สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย, ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดเดือนต่อไป วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป ๒. เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุกปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน ๓. เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ๔. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรงแรมเชียงใหม่ เกต++ที่พักเชียงใหม่++โปรโมชั่นพิเศษ พัก 4 คืน จ่ายเพียง 3 คืน 4050 บาท กับห้องพักสุดหรู ตกแต่งสไตล์บูติค**โปรโมชี่นที่พักเชียงใหม่**



โรงแรมเชียงใหม่ เกต โรงแรมระดับ 3 ดาว ตั้งอยู่ใกล้ถนนคนเดนวันเสาร์ ถนนวัวลาย ใจกลางเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การเดินทางไป-มา สะดวก มีรถผ่านตลอดเวลา แต่ไม่พลุกพล่าน มีบริการรับ-ส่งสนามบินในอัตรา ราคาท่านละ 70 บาท ต่อท่านต่อเที่ยว และบริการไปส่งฟรี ไนท์บาร์ซ่าร์ ห้องพักตามภาพ


เสนอโปรโมชั่นพิเศษ พัก 4 คืน จ่ายเพียง 3 คืน รวมอาหารเช้า ในราคา 4050 บาท ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2553

สนใจโทรสอบถามข้อมูลก่อนได้ค่ะ

053-203895-9


โรงแรมเชียงใหม่ เกต ขอเสนอข้อมูล เครื่องเงินวัวลาย งานหัตถกรรมที่ประณีตและสวยงามของคนท้องถิ่น เชียงใหม่


จองที่พักโรงแรมเชียงใหม่ เกต ใกล้ถนนคนเดินวัวลาย แหล่งเครืองเงินเลื่องชื่อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องเงินวัวลาย ตำนานผลิตภัณฑ์เครื่องเงินในการทำเครื่องเงิน ของบ้านศรีสุพรรณนั้น ปรากฏหลักฐานตั้งแต่ครั้งพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสร้างความสัมพันธ์กับพุกาม และเจรจาขอช่างฝีมือ มายังเมืองเชียงใหม่ เพื่อฝึกเป็นอาชีพเสริมให้กับประชาชน ทำให้เชียงใหม่มีช่างหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้รับการฝึกฝนและมีการสืบทอดต่อเนื่องกันตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงินของช่างบ้านศรีพรรณ ผู้ตีขันเงิน จะสลักลวดลายบนขันเงิน เป็นช่างในคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ในอดีต และได้นำมาถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องให้ลูกหลานจนสามารถเป็นช่างฝีมือ จนเป็นที่ยอมรับและได้ขยายแหล่งที่ผลิตเครื่องเงิน ไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เช่นบ้านหารแก้ง อำเภอหางดง บ้านแม่หย้อย อำเภอสันทราย ซึ่งได้พัฒนารูปแบบลวดลายไปมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันเครื่องเงิน ได้พัฒนาไปมากรวมทั้งลวดลายก็ได้พัฒนาสู่วิถีชีวิตที่หลากหลายมากขึ้นเช่นกัน ( ตำนานผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน-คัวเนียม และโลหะดุนลาย, 2549)
ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2500 ชาวบ้านวัวลายจะประกอบอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อว่างเว้นจากการทำนาก็จะเป็นช่างฝีมือประกอบชีพทำเครื่องเงินตามที่ไดรับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษโดยจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัว และเกือบทุกบ้านจะมีโรงงานขนาดเล็กประจำอยู่ที่บ้าน เรียกว่า “เตาเส่า”
สมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำเครื่องเงินเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน และเพื่อการค้า โดยจะไปซื้อแร่เงินจากร้านคนจีนในตัวเมืองเชียงใหม่ จากนั้นจะนำแร่เงินมาตี-ขึ้นรูป ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำสลุง ขันล้างหน้า พาย ถาด โดยมากผู้ที่ทำหน้าที่เป็นช่างตีและขึ้นรูป จะใช้แรงงานชายได้แก่ พ่อ สามี ลูกชาย ส่วนผู้หญิงคือแม่ และลูกสาว จะรับหน้าที่เป็นช่างแกะลาย และนำเครื่องเงินไปขาย ( วัวลาย หมื่นสาร ศรีสุพรรณ นันทาราม จากวัดศรีสุพรรณ, (ม.ป.ป.)
วัสดุในการผลิต
เงิน 100 % สั่งซื้อโดยตรงจากโรงงานถลุงเงิน
เงินแถบ 90% พบได้ในประเทศพม่าและอินเดีย และจากเครื่องเงินเก่าโบราณ
อุปกรณ์ในการใช้ผลิตเครื่องเงิน
1. อุปกรณ์ในการใช้ทุบตี
1.1 ค้อนเหล็ก มีหลายขนาดหลายชนิด
1.2 แท่นเหล็ก หรือแผ่นไม้ใช้รองตี
2. อุปกรณ์ในการขัด
2.1 แปรงทองเหลือง และฝอยขัดหม้อ
2.2 มะขามเปียก
2.3 หินขัด หรือกีวีสำหรับขัดมัน
2.4 น้ำ, สีสำหรับอุดรอยรั่วของชิ้นงาน
3. อุปกรณ์ในการแกะลาย
3.1 แท่นที่สลักลายทำด้วยชันผสมด้วยน้ำมันหมู
3.2 ค้อน
3.3 ลิ่ม หรือสิ่ว เป็นอุปกรณ์ในกรทำลวดลาย
วิธีทำแท่น
เคี่ยวชันน้ำมันหมูจนเป็นเนื้อเดียวกันเทลงไปในแท่นไม้ หรือแผ่นอะลูมิเนียม แผ่นโลหะ ที่จะทำชิ้นงาน เพื่อให้เป็นรูป และขนาดตามความต้องการ จากนั้นนำมาตีหรือแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ( ตำนานผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน-คัวเนียม และโลหะดุนลาย, 2549)
ขั้นตอนในการทำเครื่องเงิน
1. นำเงินมาหลอมในเบ้า ซึ่งทำด้วยดินเผามีลักษณะกลม แล้วนำไปเผาในเตาเผาที่ เรียกว่า " เตาเฝ่า "มีลักษณะแบบสูบลมเข้า
2. ให้เติมดินประสิวและข้าวสารตอกในขณะที่เครื่องเงินค่อย ๆละลาย เพื่อให้เนื้อเงินมีลักษณะเนียนเรียบและอ่อน
3. ให้เติมผงถ่านลงไปในเงินที่กำลังละลาย เพื่อไม่ให้เนื้อเงินติดกับเบ้า แล้วนำเงินนั้นเทลงในเบิ้งที่ใส่น้ำมันก๊าดลงไปในเนื้อเบิ้งแล้ว ประมาณ 3-4 ของเบิ้ง จะทำให้เกิดการลุกไหม้ เพื่อให้เนื้อเงินจับตัวกันแน่น ไม่มีฟองอากาศ ลักษณะของเบิ้งนั้นทำจากดินเหนียว มีลักษณะเป็นหลุมไม่ลึก
4. ใช้อุปกรณ์เกลี่ยหน้าเงอนให้เรียบ ทิ้งไว้ 5 นาที แล้วขุดนำผงถ่านออกมา
5. คว่ำเบิ้งลง เพื่อให้แผ่นเงินหลุดออกมา
6. นำแผ่นเงินที่หลอมเสร็จแล้วไปชุบกำมะถันผสมน้ำ ในอัตราส่วน 2ขวด:6 ถัง น้ำจะเปลี่ยนสีเป็น สีฟ้าอมเขียว เพื่อให้กรดเข้าไปแทนที่ฟองอากาศที่อยู่ในเนื้อเงิน จากนั้นนำไปแช่ในน้ำมะขามเปียก เพื่อล้างคราบสกปรกและกรดออก โดยใช้แปรงทองเหลืองขัดจะทำให้เนื้อเงินประกายสวยมากขึ้น
7. นำแผ่นไปขึ้นรูปตามลักษณะที่ต้องการ โดยการทุบหรือตี ขณะนั้นเนื้อเงินก็จะเย็นตัว ทำให้ยากแก่การขึ้นรูป จึงต้องนำไปเผาไฟให้ร้อนอีกรอบ เพื่อให้เนื้อเงินอ่อนตัวลง แล้วนำไปขึ้นรูปต่อ
8. นำเงินไปขัดด้วยแปรงทองเหลือง ในน้ำมะขามเปียกผสมผงหินขัด เนื้อเงินจะได้เป็นเงามากขึ้น (สรรพช่าง: ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่.เชียงใหม่ สถาบัน, 2539.)
การแกะลายนูนสูง
ในสมัยโบราณการทำลายนูนสูง ช่าง หรือที่เรียกว่าสล่า จะทำเป็นลายนูนสูงชั้นเดียว โดยดุนลายด้านในเพียงชั้นเดียว จากนั้นก็ประกอบลายด้านหลัง ต่อมาช่างก็คิดลายสองชั้น โดยการดุนลายด้านในสองชั้น จนถึงสามชั้น ช่างจะทาลายนูนสูงโดยสังเกตจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัวทุกอย่าง โดยช่างพยายามที่จะให้เหมือนจริงทุกอย่าง การทำลายนูนสูงเป็นลานที่มีความสลับซับซ้อนมาก การทำงานของช่างใช้ทั้งสมาธิ ความใจเย็น ความอดทน และใช้เวลานานมากกว่าจะได้ชิ่นงานหนึ่ง ( ลายนูนสูง, ม.ป.ป.)
ขั้นตอนในการสลักลวดลายบนขันเงิน
1. นำเงินที่จะสลักลวดลายใส่ไปในแท่นพิมพ์ที่ทำด้วยชัน
2. ตอกลายจากข้างในขันเงินให้นูนออกมา
3. ใส่ชันลงไปในขันเงินนั้นให้เต็ม และคว่ำขันเงินนั้น เพื่อแต่งลวดลายภายนอกให้สวยงามด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆให้เหมาะสมกับลายนั้น
4. เอาชันออกจากขันเงินโดยการลนไฟ เมื่อชันละลายก็จะหลุดออกมาจากแบบพิมพ์
5. ผิวที่ขรุขระใช้ขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวเนื้อเรียบ
6. นำขันเงินที่เสร็จแล้วนั้นไปต้มด้วยน้ำกรดผสมกำมะถัน ต้มนานประมาณ 30 นาที ให้อุณหภูมิที่สูงมาก ถ้าอุณหภูมิไม่สูง วัตถุที่ต้มจะไม่ขาว
7. ขัดขันเงินในน้ำสะอาดด้วยแปรงทองเหลือง จะใช้ผงซักฟอกกับน้ำมะขามเปียก หรือผงหินขัดก็ได้ ขันเงินนั้นจะขาวเป็นเงางาม(สรรพช่าง: ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่ : 2539, หน้า )
อ้างอิง
สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. สรรพช่าง: ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่. เชียงใหม่ สถาบัน, 2539.
ตำนานผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน-คัวเนียม และโลหะดุนลาย. (ม.ป.ป.). [เอกสารอัดสำเนา]. เชียงใหม่: วัดศรีสุพรรณ.
วัวลาย หมื่นสาร ศรีสุพรรณ นันทาราม. (2549). [เอกสารอัดสำเนา]. เชียงใหม่: วัดศรีสุพรรณ.
ลายนูนสูง. (ม.ป.ป.). [เอกสารอัดสำเนา]. เชียงใหม่: วัดศรีสุพรรณ.

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ห้องพัก หรูราคาพิเศษ กับโรงแรมเชียงใหม่เกต พักสบายกลางใจเมือง ติดถนนคนเดินวัวลายวันเสาร์

ห้องพัก หรูราคาพิเศษ กับโรงแรมเชียงใหม่เกต พักสบายกลางใจเมือง ติดถนนคนเดินวัวลายวันเสาร์

Junior Suite เพียง 2500 บาท ( 1 ห้องนอน 1 ห้องนั่งเล่น )
Royal Suite Room ( 2 ห้องนอน 1ห้องนั่งเล่น) เพียง 3500 บาท
ห้องพักมีจำนวนจำกัดนะคะ สนใจโทรมาสอบถามก่อนค่ะ

จนถึง 31 ตุลาคมนี้เท่านั้นค่ะ
http://www.chiangmaigatehotel.com
rsvn@chiangmaigatehotel.com
0532032895-9

มินตรา

โปรโมชั่นพิเศษต้อนรับปิดเทอม++ที่พัก++โรงแรม++เชียงใหม่**เชียงใหม่ เกต**ใกล้ถนนคนเดินวันเสาร์


โรงแรมเชียงใหม่ เกต ใกล้ถนนคนเดินวันเสาร์ ใจกลางเมือง เสนอโปรโมชั่นพิเศษต้อนรับปิดเทอม สำหรับน้องๆๆนักเรียน นักศึกษา และครอบครัว เพียง 1 ในสมาชิกของท่าน โชว์บัตร นักศึกษา ก็สามารถรับส่วนลดห้องพักได้ดังนี้
Standard room จาก 1000 บาท เหลือ เพียง 699 บาท รวมอาหารเช้า 2 ท่านต่อ 1 ห้อง ต่อ 1 คืน
Superior room จาก 1350 บาท เหลือเพียง 888 บาท รวมอาหารเช้า 2 ท่านต่อ 1 ห้อง ต่อ 1 คืน
Deluxe room จาก 1750 บาท เหลือเพียง 999 บาท รวมอาหารเช้า 2 ท่าน ต่อ 1 ห้อง 1 คืน
โปรโมชั่นนี้สำหรับท่านที่ต้องการพักช่วงเดือน ตุลาคมนี้เท่านั้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
htttp://www.chiangmaigatehotel.com
rsvn@chiangmaigatehotel.com
053203895
ติดต่อมินตรา ค่ะ

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข่าวประชาสัมพันธ์ ททท. ขอเชิญเที่ยวงาน ฟัก แฟง แตงกวา 2009


ข่าวประชาสัมพันธ์ ททท. ขอเชิญเที่ยวงาน ฟัก แฟง แตงกวา 2009

ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ขอเชิญเที่ยวงาน “ฟัก แฟง แตงกวา 2009” ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 - 31 ตุลาคม 2552 ภายในงานประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการ ฟัก แฟง แตงกวา มหัศจรรย์พฤกษศาสตร์ถิ่นไทย มุมฟักทอง กาดชุมชน และผลิตภัณฑ์สินค้าของที่ระลึกจากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0-5384-1234 และ http://www.qsbg.org/