
ชื่อวัด : วัดนันทาราม
เจ้าอาวาส : พระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร (สุวรรณ)
ประวัติวัด และ กิจกรรม:
วัดนันทาราม ตั้งอยู่นอกประตูเชียงใหม่ เดิมเรียกว่า “บ้านเขิน” ในเขตตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๗๖ ตารางวา วัดนี้มีกำแพงสองชั้นล้อมรอบเขตวัด แต่เดิมชั้นในเรียกว่า เขตพุทธาวาส หรือ “ข่วงแก้วทั้งสาม” ซึ่งมีองค์พระเจดีย์ พระวิหาร อุโบสถ ศาลาบำเพ็ญบุญ หอไตร ตั้งอยู่บริเวณด้านใน ส่วนชั้นนอกนั้นเดิมเรียกว่า เขตสังฆาวาส อันมีกุฏิสำหรับพระภิกษุอยู่ เดิมมีกุฏิสองหลัง หลังหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเขตพุทธาวาส เรียกว่า กุฏิเหนือ มีภิกษุสามเณรอยู่คณะหนึ่ง ส่วนอีกหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเขตพุทธาวาส เรียกว่า กุฏิใต้ มีภิกษุสามเณรอยู่อีกคณะหนึ่ง ทั้งสองคณะนี้การปกครองในสมัยก่อนนั้นไม่ขึ้นต่อกัน จึงได้นามอีกอย่างหนึ่ง คืออารามเหนือ และอารามใต้ ปัจจุบันอารามเหนือหรือกุฏิเหนือได้ร้างไปแล้ว ส่วนกุฏิใต้นั้นก็ได้ย้ายมาตั้งทางด้านทิศตะวันออกของกุฏิเดิมอีกประมาณ ๑๐ เมตร เรียกว่า “กุฏิต่ำ” หรือภาษาเมืองล้านนาเรียกว่า “โฮงต่ำ”
วัดนันทาราม แต่เดิมเป็นป่าไม้ไผ่ ตามตำนานนั้นกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเมื่อออกพรรษาแล้ว พร้อมด้วยพระอานนท์ พระโสณะเถรเจ้า พระอุตตระเถรเจ้า พระรตนะเถรเจ้า ได้เสด็จออกจากเมืองกุสินารา ซึ่งขณะนั้นพญาอโศกราชครองเมืองกุสินาราอยู่ พร้อมด้วยพญาอินทร์ก็มาอุปฐากพระพุทธเจ้าและพระเถรเจ้าทั้ง ๔ องค์นั้น ก็ได้เสด็จเทศนาธรรมสั่งสอนแก่คนและเทวดาทั้งหลาย ในบ้านน้อยเมืองใหญ่ตามลำดับ จนกระทั่งเสด็จมาถึงเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นเมืองเชียงใหม่เป็นที่อยู่อาศัยของพวกบ้านธะมิระทั้งหลาย พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถรเจ้าทั้ง ๔ องค์ได้เสด็จมาถึงวัดบุพผารามหรือวัดสวนดอกก่อน พระพุทธองค์ก็ไว้ เกศา ๑ เส้น แล้วเสด็จไปวัดอโศการาม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น เสด็จไปวัดปิจาราม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น เสด็จไปวัดสังฆาราม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น เสด็จไปวัดโชติการาม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถรเจ้าก็เสด็จไปทางทิศหรดีหรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขณะนั้นมีนายธะมิระผู้หนึ่งสร้างตูบ หรือกระต๊อบหลังหนึ่งอยู่รักษาสวนในป่าไผ่นั้น พระพุทธองค์และพระเถระเจ้าก็เสด็จไปยังที่แห่งนั้น นายธะมิระจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระเถรเข้าอยู่สำราญในตูบของตนคืนหนึ่ง พอรุ่งเช้านายธะมิระก็ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธองค์และพระเถระ เมื่อภัตกิจเสร็จแล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทำนายว่า “ฐานะที่นี้จะเป็นอารามอันหนึ่งในภายภาคหน้า ได้ชื่อว่า นันทาราม หรือนันตาราม” แล้วพระพุทธองค์ก็ถอดเกศาเส้นหนึ่งไว้แก่นายธะมิระ เมื่อนั้นนายธะมิระก็อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถรเจ้าไปประทับชั่วคราวในสวนของตน แล้วก็ทำมณฑปอันใหญ่ประกอบด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย เป็นต้นว่า ดอกไม้นานาชนิด เพื่อเป็นที่สำราญแก่พระพุทธองค์ บรรจุไว้ในที่ประทับชั่วคราวแห่งนี้ ก่อเจดีย์สูงสามศอก ณ ที่แห่งนี้ปัจจุบันคือวัดนันทาราม นั้นแล
ในขณะนั้น ยังมีนายธะมิระอีกผู้หนึ่งมีความปิติยินดีในคุณพระพุทธองค์เป็นอันมาก ก็เอาผ้าสะใบของตนทำเป็นช่อตุงบูชาพระพุทธเจ้า แล้วก็อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระเจ้าเสด็จไปโชติการามหรือวัดเจดีย์หลวง ยังมีนายสิงหนาทอีกผู้หนึ่งอายุได้ ๑๐๖ ปี เห็นพระพุทธเจ้าก็บังเกิดความปิติชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงนำเอาผ้าสะใบของตนชุบน้ำมันจุดบูชาพระพุทธเจ้าด้วยจิตศรัทธา และได้ถวายผ้าสังฆาฏิแก่พระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ตถาคตมาถึงที่นี้ นายธะมิระเอาผ้าสะใบทำเป็นช่อตุงบูชา และมาบัดนี้สิงหนาทได้ถวายผ้าสังฏาฏิ และเอาผ้าสะใบชุบน้ำมันจุดบูชาเราอีก นิมิตอันดีนี้ภายภาคหน้าที่นี่จักเป็นมหานครอันหนึ่ง มีชื่อว่า “พิงค์นคร” และเป็นที่อยู่แห่งแก้วทั้งสาม รูปของตถาคตชื่อว่า พระแก้ว พระสิงห์ จะมาตั้งอยู่ในเมืองอันนี้ เพื่อเป็นที่สัการะบูชาแก่คน และเทวดาทั้งหลายต่อไปภายหน้า” ในกาลนั้นพระอินทร์และพญาอโศกราชได้ขอเอาเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า นำไปใส่บอกไม้ซาง ใส่ผอูบคำใบใหญ่แล้วนำไปบรรจุหลุม ลึกได้ ๕ วา บางตำนานก็ว่าลึก ๑๐๐ วา กว้าง ๕๐ วา ทำพื้นราบเสมอดีงามแล้ว เรียงด้วยแผ่นหินทำแท่นทองคำตรงกลางหลุมเอาผอูบเกศาธาตุตั้งเหนือแท่นคำนั้น นายธะมิระก็ใส่ข้าวของมีมูลค่าสินล้านบูชาเกศาธาตุ พระอินทร์ก็นำเอาหินมาปิดไว้ข้างบน ก่อเจดีย์สูงได้สามศอกไว้เป็นที่กราบไหว้ และบูชาแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย ขณะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เมื่อใดตถาคตนิพพานแล้ว ท่านทั้งหลายจงเอามือขวาแห่งเราตถาคต มาไว้กับเกศาธาตุที่นี่” ณ ที่นี้จึงมีชื่อเรียกว่า พระธาตุเจดีย์หลวง จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถระก็เสด็จไปยังบ้านกุมภะเศรษฐี ทรงไว้เกศาหนึ่งเส้น แล้วก็เสด็จกลับเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระเถระเจ้าทั้ง ๔ องค์ในวันนั้นแล
ในสมัยอดีตกาล วัดนันทารามแห่งนี้ เป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง อยู่ในจำนวนพระอารามทั้ง ๘ แห่ง อันประกอบด้วย ๑. วัดสังฆาราม หรือ วัดเชียงมั่นในปัจจุบัน ๒. วัดมหาโพธาราม หรือ วัดเจ็ดยอด ๓. วัดโชติการาม หรือ วัดเจดีย์หลวง ๔. วัดตโปทาราม หรือ วัดร่ำเปิง ๕. วัดบุพผาราม หรือ วัดสวนดอก ๖. วัดฑีฆาวะวัสสาราม หรือ วัดเชียงยืน ๗. วัดบุพพาราม และ ๘. วัดนันทาราม
โดยชาวไทยยวน คือชาวล้านนาไทย โดยเฉพาะชาวนครเชียงใหม่ถือกันว่า วัดทั้ง ๘ แห่งนี้ มีความสำคัญจึงเรียกกันว่า “พระอาราม ๘ แห่ง” แต่ว่ามีความสำคัญในทางใดนั้น ยังหาหลักฐานเข้าใจไม่ได้ถ่องแท้ แต่เชื่อว่าคงจะเป็นที่ไว้เกศาธาตุ ๘ แห่งของพระพุทธองค์
วัดนันทาราม สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นหลังจากนครเชียงใหม่สร้างขึ้นมาแล้ว พระเจ้าเม็งรายทรงสร้างนครเชียงใหม่เมื่อปีดับเม็ด พ.ศ. ๑๘๓๘ และวัดนันทารามคงสร้างขึ้นก่อนการสร้างกำแพงเวียงชั้นนอก
วัดนันทารามนี้เคยปรากฏว่า เป็นที่สถิตของพระเถรานุเถระมากองค์ด้วยกัน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ปราชญ์เปรื่องในพระธรรมวินัย อรรถคาถาบาลีเป็นจำนวนมาก เช่น สมเด็จพระธรรมกิตติ อดีตเจ้าอาวาสวัดนันทาราม หรือพระมหาญาณคัมภีระ ซึ่งเป็นพระเถระชาวเชียงใหม่องค์สำคัญรูปหนึ่งที่มีบทบาทต่อวงการคณะสงฆ์ และมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเชียงใหม่และล้านนาเป็นอย่างมาก ดังปรากฏตามตำนานว่า พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงไปอาราธนา พระมหาพุทธคัมภีระมาจากวัดหมื่นซ้าย มาปกครองแทนพระมหาเถระ อยู่จำพรรษาได้ ๑๔ พรรษา ก็ถึงกาลมรณะภาพ พระเจ้าสามฝั่งแกนมีศรัทธาเลื่อมใสพระมหาเถรมาก ทรงรักษาศีลและสดับรับฟังพระธรรมเทศนามิได้ขาด ครั้นในปีต่อมาพระสิทธันตะ แห่งวัดบุปผารามพร้อมด้วยศิษย์อีก ๓ รูป ได้พากันเดินทางไปจาริกแสวงบุญนมัสการพระทันตธาตุที่ลังกาประเทศ เมื่อกลับมาถึงนครพิงค์เชียงใหม่ในเดือน ๖ เพ็ญ วิสาขะ ท่านได้ไปลงอุโบสถสังฆกรรมที่ วัดโชติการาม หรือวัดเจดีย์หลวง ท่ามกลางนครพิงค์ ท่านได้พูดในที่ประชุมสงฆ์ว่า "ข้าพเจ้าไป นมัสการพระบรมธาตุที่ลังกา พักอยู่สำนักพระมหาสุรินทรเถระวัดอุปารามได้ ๒ พรรษา พระสงฆ์ลังกาถามข้าพเจ้าในเรื่องการปฏิบัติสังฆกรรมต่างๆ ในบ้านเมืองเรา ข้าพเจ้าก็เล่าให้พระสงฆ์ลังกาฟังอย่างที่พระในเมืองเราปฏิบัติกัน พระสงฆ์ลังกาท่านว่า ถ้าปฏิบัติอย่างนั้นไม่เป็นที่ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติข้อนี้แล” ครั้งนั้นจึงเป็นเหตุให้พระมหาญาณคัมภีระ ภิกษุหนุ่มชาวนครพิงค์ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาได้ยินพระสิทธันตะพูดในที่ประชุมสงฆ์นั้น จึงชักชวนผู้รักษาในพระพุทธศาสนารวมสหธรรมิกเดินทางรอนแรมเป็นระยะทางอันไกล เพื่อไปศึกษาสืบเอาพระศาสนาแบบลังกาวงศ์มาตั้งและเผยแพร่ร่วมกับพระเมืองใต้อีกหลายรูป ณ กรุงศรีอยุธยา แล้วกลับมาเผยแพร่และตั้งคณะสงฆ์แบบลังกา ที่สำนักวัดรัตตวนมหาวิหาร หรือวัดป่าแดงหลวง เพื่อลบล้างลัทธิแบบพระมหาสุมนะเถระขึ้นในลานนาประเทศ
พระมหาญาณคัมภีระเมื่อเป็นเด็กมีชื่อว่า เด็กชายสามจิต เป็นบุตรของพันตาแสง เสนาบดีของพระเจ้าสามฝั่งแกน ได้นำบุตรชายของตนไปถวายให้เป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระธรรมกิตติ ยังสำนักวัดนันทาราม ก่อนที่พันตาแสงจะเอาบุตรของตนมาถวายนั้น ในคืนนั้นสมเด็จพระธรรมกิตติได้ฝันว่า มีช้างเผือกตัวหนึ่งมาจากทิศตะวันออกเข้ามาในวัด และเข้าไปในหอไตร ใช้งาแทงหีบพระไตรจนแตก แล้วใช้งวงจับเอาพระคัมภีร์ใบลานเคี้ยวกินจนหมด แล้วเข้ามาหาสมเด็จพระธรรมกิตติ คุกเข่าต่อหน้า แล้วก็ออกเดินไปทางทิศเหนือ พอรุ่งขึ้นจวนเที่ยงวัน พันตาแสงจึงเอาบุตรชายอายุได้ ๑๓ ปี ชื่อเด็กชายสามจิต มาถวายเป็นศิษย์ สมเด็จพระธรรมกิตติจึงรับไว้ และได้สอนพระธรรมกัมมัฏฐานให้ จนได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดนันทารามนี้ มีชื่อว่า สามเณรสามจิต บวชเรียนได้ ๘ พรรษาเรียนจบพระคัมภีร์ต่างๆ อย่างแตกฉาน พออายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีชื่อว่า พระญาณคัมภีระ อยู่ได้ ๑ พรรษา สมเด็จพระธรรมกิตติก็อนุญาตให้พระญาณคัมภีระเป็นผู้ดูแลสั่งสอนแก่พระภิกษุสามเณรต่อไป ส่วนสมเด็จพระธรรมกิตติก็ย้ายไปอยู่วัดปันเล้า ต่อมาสมเด็จพระธรรมกิตติจึงสั่งให้พระมหาญาณคัมภีระ ไปเรียนพระคัมภีร์ที่อโยธยา และเมืองลังกา พระญาณคัมภีระจึงรับคำ แล้วก็เข้าเฝ้าพระเจ้าสามฝั่งแกน พระเจ้าสามฝั่งแกนเห็นดีด้วย ที่จะให้พระศาสนาเจริญมั่นคง จึงให้บริขารและเงิน ๕ กะหาปะนะ ส่วนสมเด็จพระธรรมกิตติได้แต่งตั้งให้พระอีก ๕ รูป คือ พระเมธัมกะระองค์หนึ่ง พระญาณมังกะระ อยู่วัดกุฏีคำอีกองค์หนึ่ง พระจันตะรังษีองค์หนึ่ง พระญาณสิธิ วัดนันทาราม พร้อมด้วยพระญาณคัมภีระเป็นหัวหน้า และเสนาของพระเจ้าสามฝั่งแกน เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัย ถึงเมืองอโยธยาแล้วออกไปเมืองลังกา พอเรียนจบพระธรรมวินัยแล้วในปี ศักราช๗๙๑ ปีกาบเล้าศาสนาร่วงแล้ว ๑๙๗๑ เดือน ๙ ออก ๖ ค่ำ ก็กลับคืนมา ต่างองค์ก็สั่งสอนศาสนาในสาระทิศต่างๆ เมื่อพระญาณคัมภีระไปในทิศทางใด คนก็เข้าไปบวชเรียนและเรียนพระธรรมวินัยเป็นอันมาก ทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่นั้นมา
ลำดับพระญาณคัมภีระเป็นฆราวาสได้ ๑๓ ปี บวชเป็นสามเณรได้ ๘ พรรษา เป็นพระได้ ๑๑ พรรษา ไปอยู่วัดบ้านลานกุมกามหัวเวียง ๒ พรรษา ไปอยู่ลังกา ๕ พรรษา ไปอยู่อโยธยา ๑ พรรษา ไปอยู่สุโขทัย ๑ พรรษา ไปอยู่ละกอน ๓ พรรษา ไปอยู่เมืองวัน ๑ พรรษา มาถึงปีเต่าสันศักราช ๘๑๕ พญาแก้วตาหลวงไปอาราธนาพระญาณคัมภีระที่เมืองวังกลับนครพิงค์ พอเดินทางมาถึงบ้านเชิงดอยหัวเวียงเมือง พระญาณคัมภีระป่วยเป็นไข้ป่าได้ถึงมรณภาพ ณ ที่นั้น ซึ่งปัจจุบันคือ พระธาตุดอยเกิ้งญาณคัมภีระ วัดบ้านขาม จังหวัดลำปาง สิริรวมอายุได้ ๖๒ ปี
วัดนันทาราม ยังมีอดีตเจ้าอาวาสที่สำคัญ นั่นคือ พระครูสารภังค์ นามเดิม เจ้าเทพวงศ์ ณ เชียงตุง เลื่อนขั้นเป็นพระครูประทวน พระครูเทพวงศ์ ฉายา เทววํโส เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีการประชุมสงฆ์ ข้าราชการเจ้านาย โดยมีพ่อเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เจ้าคุณพระธรรมวโรดมเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ ได้แต่งตั้งพระราชาคณะ เจ้าอาวาสวัดต่างๆ และได้แต่งตั้งเจ้าตุ๊เทพวงศ์ สังฆราชที่ ๗ วัดนันทารามแขวงเมืองเชียงใหม่ ขึ้นเป็นพระครูเทพวงศ์ และปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ปีวอก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานเครื่องบริขารขึ้นมา ๕ สำรับ ทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์พระราชทานทินนนาม พระครูเทพวงศ์ วัดนันทาราม เป็นพระครูสารภังค์ ตำแหน่งพิเศษเป็นพระอุปัชฌายะ และสังฆราชา องค์ที่ ๗ เจ้าคณะแขวงสะมิง ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พระครูสารภังค์ เจ้าคณะแขวงสะเมิงพ้นจากตำแหน่ง ยกขึ้นเป็นเจ้าคณะแขวงกิตติมศักดิ์ เพราะชราภาพ
ท่านพระคุณเจ้าเป็นเชื้อราชวงศ์เชียงตุง มีพระอุปนิสัยน้อมทางเนกขัมมะบารมี บรรพชาอุปสมบทมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธศาสนา บำเพ็ญศาสนกิจจนตราบอายุขัย พระคุณท่านสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้คณะสงฆ์เมืองเชียงใหม่ และวัดนันทารามมากองค์หนึ่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์
โบราณสถาน :
โบราณวัตถุสถานที่สำคัญภายในวัดนันทาราม ประกอบด้วย
พระบรมธาตุเจ้าเจดีย์ ซึ่งถือเป็นปูชนียสถานที่ทางตำนานพื้นเมืองและตำนานโยนกนครกล่าวรับรองถูกต้องพร้องกันว่า เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดามาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์แล้ว และเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๒ เดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันอาทิตย์ พระเจ้าปนัดดาธิราชฯ ทรงให้สร้างพระเจดีย์องค์ สูง ๓๐ ศอก กว้าง ๒๐ ศอก ครึ่งครอบพระเจดีย์องค์เดิมซึ่งสูงเพียง ๓ ศอก และพระองค์ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระภิกษุชาวลังกาไว้ที่บนคอระฆัง เมื่อนับถึงกาลปัจจุบันมีอายุได้ ๔๘๘ ปีล่วงมาแล้ว
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระอธิการอิ่นแก้ว ธมฺมรตโน (มณีรัตน์) เมื่อได้รับเป็นสมภารเจ้าวัดก็ได้ทำการยกฉัตร ปิดทองใหม่พระธาตุ และหล่อฉัตรจัตุรมุข ทั้ง ๔ ด้าน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้หุ้มแผ่นทองเหลือง จำนวน ๑,๓๐๔ แผ่น รอบองค์พระเจดีย์พร้อมทั้งลงรักปิดทอง และสร้างรั้วเหล็กรอบองค์พระเจดีย์ และรางเหล็กไว้เพื่อจุดเทียนรอบองค์พระเจดีย์ การบูรณะพระเจดีย์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยการนำของท่านพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร และได้ฉลองสมโภชเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๔๓ และเมื่อกำหนดวันเดือนเป็ง เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ทางวัดจะจัดให้มีงานประเพณีสรงน้ำพระ และองค์พระเจดีย์ขึ้นเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันมาแต่โบราณ ตราบจนทุกวันนี้
พระพุทธไสยาสน์โบราณองค์ใหญ่ หรือพระนอน ยังไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่มีความสวยงามยิ่งนัก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ทอดพระเนตรไปหาองค์พระเจดีย์ มีวิหารครอบอย่างถาวร พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีขนาด พระอุระกว้าง ๘๒ ซม., พระพักตร์ยาว ๗๐ ซม., พระบาทยาว ๗๓ ซม., พระพาหายาว ๓.๔ ซม., พระโมลียาว ๔๗ ซม., พระเศียรวัดโดยรอบ ๑.๓ ซม., พระวรกายยาวจากพระโมลี – พระบาท ๑๒๐ ซม.
พระวิหาร ตั้งอยู่อย่างสง่างาม เป็นรูปแบบศิลปกรรมแบบล้านนาไทยโดยแท้ สร้างขึ้นแล้วบูรณะซ่อมแซมสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕ พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ล่องลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติยศเพิ่มขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่แล้ว กราบถวายบังคมทูลลากลับเชียงใหม่ จึงให้สร้างพระวิหารวัดนันทาราม เมื่อวันเสาร์เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ ปีระกา ตรีศก และให้ปั้นรูปพระยาครุฑ บิดแขวนโอบรอบอกพระยานาค ๒ ตัว ข้างบันไดซ้าย-ขวา คือสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ถือเป็นศิลปกรรมอันงดงามที่ไม่ซ้ำแบบวัดอื่นๆ ในเมืองเชียงใหม่
พระอุโบสถ ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สูง ๑ ชั้น ลักษณะทรงล้านนา เมื่อวันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ พระอธิการอิ่นแก้ว ได้ทำการรื้ออุโบสถหลังเดิม และทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยไว้รูปทรงแบบเดิม และได้ทำการทำบุญฉลองเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖-๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ หลังจากนั้นพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร (สุวรรณ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำการปฏิสังขรณ์ในส่วนที่ชำรุด และปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบพระอุโบสถ และได้ทำการถวายไว้ในพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
หอธรรม หรือ หอไตรปิฎก หอธรรมหลังเดิมนั้นสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระธรรมกิตติ อดีตเจ้าอาวาสวัดนันทาราม ต่อมา วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีเส็ด พระอธิการอิ่นแก้ว ได้สร้างศาลาบาตรรวมหอธรรมหรือหอไตร ออกแบบถาวร รูปแบบศิลปกรรมแบบผสม แล้วได้ทำบุญฉลองสมโภช เมื่อวันที่ ๕-๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ตรงกับเดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๗-๙ ค่ำ ปีจอ
ส่วนหอธรรมหลังใหม่ ซึ่งได้สร้างแทนหอธรรมหลังเดิมนั้น ตั้งอยู่บริเวณหลังพระวิหารทางด้านทิศเหนือ ในลักษณะทรงล้านนาประยุกต์ สีขาว มีลักษณะเด่นสวยงาม ได้สร้างแล้วเสร็จ และถวายไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗
ซุ้มประตูโขง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นการสร้างเพื่ออนุรักษ์ซุ้มประตูโขงของเดิมไว้ พร้อมกับก่อสร้างกำแพงด้วยศิลาแลง
รูปปั้นพระญาณคัมภีระ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยพระอธิการอิ่นแก้ว ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระญาณคัมภีระ ที่ทรงมีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อวงการคณะสงฆ์ของล้านนาไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ด้านข้างของอุโบสถวัดนันทาราม
บ่อน้ำโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระธรรมกิตติ และเคยใช้น้ำในบ่อน้ำแห่งนี้สรงพระธาตุ ในงานสรงน้ำพระธาตุประจำปีเป็นประจำทุกปี
วัดนันทารามแห่งนี้ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญมากในอดีต ครั้งหนึ่งได้เคยใช้สถานที่แห่งนี้จัดถวายพระเพลิงพระบรมศพของกษัตริย์ คือพระเจ้ายอดเชียงราย และเคยเป็นที่พำนักของพระราชาคณะชั้นสมเด็จ คือ สมเด็จพระธรรมกิตติ ในสมัยรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์เชียงใหม่ล้านนา ทั้งยังเป็นศูนย์การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีหลายสาขา เช่น การศึกษาอักษรพื้นเมือง อักษรฝักขาม อักษรขอมเมือง อักษรไทยใหญ่ ภาษาบาลี การเทศน์ทำนองมหาชาติแบบเมืองเหนือ การจารอักษรลงบนใบลาน ตำรายาโหราศาสตร์ และยังเป็นสถานที่ทัศนศึกษาแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีโบราณวัตถุ โบราณสถาน และใบลานตำราต่างๆ สำหรับค้นคว้ามากมาย
กิจกรรมที่สำคัญของวัดนันทารามคือการเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา การสืบทอดและสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น การจัดประเพณีสรงน้ำพระธาตุ เป็นประจำทุกปีเมื่อถึงกำหนดวันเดือนเป็ง เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ทางวัดปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวัดนันทาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร (สุวรรณ) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙- ปัจจุบัน ท่านพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร ได้พัฒนาวัด และรักษาขนบธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามของวัดมาโดยตลอด ทำให้วัดนันทารามมีความสวยงาม สะอาด สงบ ร่มรื่น มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ที่ยังคงคุณค่าของความเป็นล้านนา เป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ศรัทธาประชาชน และเป็นศูนย์รวมในการประกอบกิจกรรมทั้งของวัดและชุมชน เช่น ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุเจ้า กิจกรรมพัฒนาชุมชน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน เหมาะแก่การอนุรักษ์ รักษาให้คงอยู่สืบต่อไป
ขอบคุณผู้เขียนบทความ ที่มา : http://www.lannatalkkhongdee.com/templeDetail.php?id=Temp0800008
เจ้าอาวาส : พระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร (สุวรรณ)
ประวัติวัด และ กิจกรรม:
วัดนันทาราม ตั้งอยู่นอกประตูเชียงใหม่ เดิมเรียกว่า “บ้านเขิน” ในเขตตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๗๖ ตารางวา วัดนี้มีกำแพงสองชั้นล้อมรอบเขตวัด แต่เดิมชั้นในเรียกว่า เขตพุทธาวาส หรือ “ข่วงแก้วทั้งสาม” ซึ่งมีองค์พระเจดีย์ พระวิหาร อุโบสถ ศาลาบำเพ็ญบุญ หอไตร ตั้งอยู่บริเวณด้านใน ส่วนชั้นนอกนั้นเดิมเรียกว่า เขตสังฆาวาส อันมีกุฏิสำหรับพระภิกษุอยู่ เดิมมีกุฏิสองหลัง หลังหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเขตพุทธาวาส เรียกว่า กุฏิเหนือ มีภิกษุสามเณรอยู่คณะหนึ่ง ส่วนอีกหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเขตพุทธาวาส เรียกว่า กุฏิใต้ มีภิกษุสามเณรอยู่อีกคณะหนึ่ง ทั้งสองคณะนี้การปกครองในสมัยก่อนนั้นไม่ขึ้นต่อกัน จึงได้นามอีกอย่างหนึ่ง คืออารามเหนือ และอารามใต้ ปัจจุบันอารามเหนือหรือกุฏิเหนือได้ร้างไปแล้ว ส่วนกุฏิใต้นั้นก็ได้ย้ายมาตั้งทางด้านทิศตะวันออกของกุฏิเดิมอีกประมาณ ๑๐ เมตร เรียกว่า “กุฏิต่ำ” หรือภาษาเมืองล้านนาเรียกว่า “โฮงต่ำ”
วัดนันทาราม แต่เดิมเป็นป่าไม้ไผ่ ตามตำนานนั้นกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเมื่อออกพรรษาแล้ว พร้อมด้วยพระอานนท์ พระโสณะเถรเจ้า พระอุตตระเถรเจ้า พระรตนะเถรเจ้า ได้เสด็จออกจากเมืองกุสินารา ซึ่งขณะนั้นพญาอโศกราชครองเมืองกุสินาราอยู่ พร้อมด้วยพญาอินทร์ก็มาอุปฐากพระพุทธเจ้าและพระเถรเจ้าทั้ง ๔ องค์นั้น ก็ได้เสด็จเทศนาธรรมสั่งสอนแก่คนและเทวดาทั้งหลาย ในบ้านน้อยเมืองใหญ่ตามลำดับ จนกระทั่งเสด็จมาถึงเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นเมืองเชียงใหม่เป็นที่อยู่อาศัยของพวกบ้านธะมิระทั้งหลาย พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถรเจ้าทั้ง ๔ องค์ได้เสด็จมาถึงวัดบุพผารามหรือวัดสวนดอกก่อน พระพุทธองค์ก็ไว้ เกศา ๑ เส้น แล้วเสด็จไปวัดอโศการาม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น เสด็จไปวัดปิจาราม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น เสด็จไปวัดสังฆาราม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น เสด็จไปวัดโชติการาม ก็ไว้เกศา ๑ เส้น พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถรเจ้าก็เสด็จไปทางทิศหรดีหรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขณะนั้นมีนายธะมิระผู้หนึ่งสร้างตูบ หรือกระต๊อบหลังหนึ่งอยู่รักษาสวนในป่าไผ่นั้น พระพุทธองค์และพระเถระเจ้าก็เสด็จไปยังที่แห่งนั้น นายธะมิระจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระเถรเข้าอยู่สำราญในตูบของตนคืนหนึ่ง พอรุ่งเช้านายธะมิระก็ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธองค์และพระเถระ เมื่อภัตกิจเสร็จแล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทำนายว่า “ฐานะที่นี้จะเป็นอารามอันหนึ่งในภายภาคหน้า ได้ชื่อว่า นันทาราม หรือนันตาราม” แล้วพระพุทธองค์ก็ถอดเกศาเส้นหนึ่งไว้แก่นายธะมิระ เมื่อนั้นนายธะมิระก็อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถรเจ้าไปประทับชั่วคราวในสวนของตน แล้วก็ทำมณฑปอันใหญ่ประกอบด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย เป็นต้นว่า ดอกไม้นานาชนิด เพื่อเป็นที่สำราญแก่พระพุทธองค์ บรรจุไว้ในที่ประทับชั่วคราวแห่งนี้ ก่อเจดีย์สูงสามศอก ณ ที่แห่งนี้ปัจจุบันคือวัดนันทาราม นั้นแล
ในขณะนั้น ยังมีนายธะมิระอีกผู้หนึ่งมีความปิติยินดีในคุณพระพุทธองค์เป็นอันมาก ก็เอาผ้าสะใบของตนทำเป็นช่อตุงบูชาพระพุทธเจ้า แล้วก็อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระเจ้าเสด็จไปโชติการามหรือวัดเจดีย์หลวง ยังมีนายสิงหนาทอีกผู้หนึ่งอายุได้ ๑๐๖ ปี เห็นพระพุทธเจ้าก็บังเกิดความปิติชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงนำเอาผ้าสะใบของตนชุบน้ำมันจุดบูชาพระพุทธเจ้าด้วยจิตศรัทธา และได้ถวายผ้าสังฆาฏิแก่พระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ตถาคตมาถึงที่นี้ นายธะมิระเอาผ้าสะใบทำเป็นช่อตุงบูชา และมาบัดนี้สิงหนาทได้ถวายผ้าสังฏาฏิ และเอาผ้าสะใบชุบน้ำมันจุดบูชาเราอีก นิมิตอันดีนี้ภายภาคหน้าที่นี่จักเป็นมหานครอันหนึ่ง มีชื่อว่า “พิงค์นคร” และเป็นที่อยู่แห่งแก้วทั้งสาม รูปของตถาคตชื่อว่า พระแก้ว พระสิงห์ จะมาตั้งอยู่ในเมืองอันนี้ เพื่อเป็นที่สัการะบูชาแก่คน และเทวดาทั้งหลายต่อไปภายหน้า” ในกาลนั้นพระอินทร์และพญาอโศกราชได้ขอเอาเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า นำไปใส่บอกไม้ซาง ใส่ผอูบคำใบใหญ่แล้วนำไปบรรจุหลุม ลึกได้ ๕ วา บางตำนานก็ว่าลึก ๑๐๐ วา กว้าง ๕๐ วา ทำพื้นราบเสมอดีงามแล้ว เรียงด้วยแผ่นหินทำแท่นทองคำตรงกลางหลุมเอาผอูบเกศาธาตุตั้งเหนือแท่นคำนั้น นายธะมิระก็ใส่ข้าวของมีมูลค่าสินล้านบูชาเกศาธาตุ พระอินทร์ก็นำเอาหินมาปิดไว้ข้างบน ก่อเจดีย์สูงได้สามศอกไว้เป็นที่กราบไหว้ และบูชาแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย ขณะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เมื่อใดตถาคตนิพพานแล้ว ท่านทั้งหลายจงเอามือขวาแห่งเราตถาคต มาไว้กับเกศาธาตุที่นี่” ณ ที่นี้จึงมีชื่อเรียกว่า พระธาตุเจดีย์หลวง จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถระก็เสด็จไปยังบ้านกุมภะเศรษฐี ทรงไว้เกศาหนึ่งเส้น แล้วก็เสด็จกลับเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระเถระเจ้าทั้ง ๔ องค์ในวันนั้นแล
ในสมัยอดีตกาล วัดนันทารามแห่งนี้ เป็นวัดที่เจริญรุ่งเรือง ได้รับการสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง อยู่ในจำนวนพระอารามทั้ง ๘ แห่ง อันประกอบด้วย ๑. วัดสังฆาราม หรือ วัดเชียงมั่นในปัจจุบัน ๒. วัดมหาโพธาราม หรือ วัดเจ็ดยอด ๓. วัดโชติการาม หรือ วัดเจดีย์หลวง ๔. วัดตโปทาราม หรือ วัดร่ำเปิง ๕. วัดบุพผาราม หรือ วัดสวนดอก ๖. วัดฑีฆาวะวัสสาราม หรือ วัดเชียงยืน ๗. วัดบุพพาราม และ ๘. วัดนันทาราม
โดยชาวไทยยวน คือชาวล้านนาไทย โดยเฉพาะชาวนครเชียงใหม่ถือกันว่า วัดทั้ง ๘ แห่งนี้ มีความสำคัญจึงเรียกกันว่า “พระอาราม ๘ แห่ง” แต่ว่ามีความสำคัญในทางใดนั้น ยังหาหลักฐานเข้าใจไม่ได้ถ่องแท้ แต่เชื่อว่าคงจะเป็นที่ไว้เกศาธาตุ ๘ แห่งของพระพุทธองค์
วัดนันทาราม สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นหลังจากนครเชียงใหม่สร้างขึ้นมาแล้ว พระเจ้าเม็งรายทรงสร้างนครเชียงใหม่เมื่อปีดับเม็ด พ.ศ. ๑๘๓๘ และวัดนันทารามคงสร้างขึ้นก่อนการสร้างกำแพงเวียงชั้นนอก
วัดนันทารามนี้เคยปรากฏว่า เป็นที่สถิตของพระเถรานุเถระมากองค์ด้วยกัน ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ปราชญ์เปรื่องในพระธรรมวินัย อรรถคาถาบาลีเป็นจำนวนมาก เช่น สมเด็จพระธรรมกิตติ อดีตเจ้าอาวาสวัดนันทาราม หรือพระมหาญาณคัมภีระ ซึ่งเป็นพระเถระชาวเชียงใหม่องค์สำคัญรูปหนึ่งที่มีบทบาทต่อวงการคณะสงฆ์ และมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเชียงใหม่และล้านนาเป็นอย่างมาก ดังปรากฏตามตำนานว่า พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงไปอาราธนา พระมหาพุทธคัมภีระมาจากวัดหมื่นซ้าย มาปกครองแทนพระมหาเถระ อยู่จำพรรษาได้ ๑๔ พรรษา ก็ถึงกาลมรณะภาพ พระเจ้าสามฝั่งแกนมีศรัทธาเลื่อมใสพระมหาเถรมาก ทรงรักษาศีลและสดับรับฟังพระธรรมเทศนามิได้ขาด ครั้นในปีต่อมาพระสิทธันตะ แห่งวัดบุปผารามพร้อมด้วยศิษย์อีก ๓ รูป ได้พากันเดินทางไปจาริกแสวงบุญนมัสการพระทันตธาตุที่ลังกาประเทศ เมื่อกลับมาถึงนครพิงค์เชียงใหม่ในเดือน ๖ เพ็ญ วิสาขะ ท่านได้ไปลงอุโบสถสังฆกรรมที่ วัดโชติการาม หรือวัดเจดีย์หลวง ท่ามกลางนครพิงค์ ท่านได้พูดในที่ประชุมสงฆ์ว่า "ข้าพเจ้าไป นมัสการพระบรมธาตุที่ลังกา พักอยู่สำนักพระมหาสุรินทรเถระวัดอุปารามได้ ๒ พรรษา พระสงฆ์ลังกาถามข้าพเจ้าในเรื่องการปฏิบัติสังฆกรรมต่างๆ ในบ้านเมืองเรา ข้าพเจ้าก็เล่าให้พระสงฆ์ลังกาฟังอย่างที่พระในเมืองเราปฏิบัติกัน พระสงฆ์ลังกาท่านว่า ถ้าปฏิบัติอย่างนั้นไม่เป็นที่ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติข้อนี้แล” ครั้งนั้นจึงเป็นเหตุให้พระมหาญาณคัมภีระ ภิกษุหนุ่มชาวนครพิงค์ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาได้ยินพระสิทธันตะพูดในที่ประชุมสงฆ์นั้น จึงชักชวนผู้รักษาในพระพุทธศาสนารวมสหธรรมิกเดินทางรอนแรมเป็นระยะทางอันไกล เพื่อไปศึกษาสืบเอาพระศาสนาแบบลังกาวงศ์มาตั้งและเผยแพร่ร่วมกับพระเมืองใต้อีกหลายรูป ณ กรุงศรีอยุธยา แล้วกลับมาเผยแพร่และตั้งคณะสงฆ์แบบลังกา ที่สำนักวัดรัตตวนมหาวิหาร หรือวัดป่าแดงหลวง เพื่อลบล้างลัทธิแบบพระมหาสุมนะเถระขึ้นในลานนาประเทศ
พระมหาญาณคัมภีระเมื่อเป็นเด็กมีชื่อว่า เด็กชายสามจิต เป็นบุตรของพันตาแสง เสนาบดีของพระเจ้าสามฝั่งแกน ได้นำบุตรชายของตนไปถวายให้เป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระธรรมกิตติ ยังสำนักวัดนันทาราม ก่อนที่พันตาแสงจะเอาบุตรของตนมาถวายนั้น ในคืนนั้นสมเด็จพระธรรมกิตติได้ฝันว่า มีช้างเผือกตัวหนึ่งมาจากทิศตะวันออกเข้ามาในวัด และเข้าไปในหอไตร ใช้งาแทงหีบพระไตรจนแตก แล้วใช้งวงจับเอาพระคัมภีร์ใบลานเคี้ยวกินจนหมด แล้วเข้ามาหาสมเด็จพระธรรมกิตติ คุกเข่าต่อหน้า แล้วก็ออกเดินไปทางทิศเหนือ พอรุ่งขึ้นจวนเที่ยงวัน พันตาแสงจึงเอาบุตรชายอายุได้ ๑๓ ปี ชื่อเด็กชายสามจิต มาถวายเป็นศิษย์ สมเด็จพระธรรมกิตติจึงรับไว้ และได้สอนพระธรรมกัมมัฏฐานให้ จนได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดนันทารามนี้ มีชื่อว่า สามเณรสามจิต บวชเรียนได้ ๘ พรรษาเรียนจบพระคัมภีร์ต่างๆ อย่างแตกฉาน พออายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีชื่อว่า พระญาณคัมภีระ อยู่ได้ ๑ พรรษา สมเด็จพระธรรมกิตติก็อนุญาตให้พระญาณคัมภีระเป็นผู้ดูแลสั่งสอนแก่พระภิกษุสามเณรต่อไป ส่วนสมเด็จพระธรรมกิตติก็ย้ายไปอยู่วัดปันเล้า ต่อมาสมเด็จพระธรรมกิตติจึงสั่งให้พระมหาญาณคัมภีระ ไปเรียนพระคัมภีร์ที่อโยธยา และเมืองลังกา พระญาณคัมภีระจึงรับคำ แล้วก็เข้าเฝ้าพระเจ้าสามฝั่งแกน พระเจ้าสามฝั่งแกนเห็นดีด้วย ที่จะให้พระศาสนาเจริญมั่นคง จึงให้บริขารและเงิน ๕ กะหาปะนะ ส่วนสมเด็จพระธรรมกิตติได้แต่งตั้งให้พระอีก ๕ รูป คือ พระเมธัมกะระองค์หนึ่ง พระญาณมังกะระ อยู่วัดกุฏีคำอีกองค์หนึ่ง พระจันตะรังษีองค์หนึ่ง พระญาณสิธิ วัดนันทาราม พร้อมด้วยพระญาณคัมภีระเป็นหัวหน้า และเสนาของพระเจ้าสามฝั่งแกน เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัย ถึงเมืองอโยธยาแล้วออกไปเมืองลังกา พอเรียนจบพระธรรมวินัยแล้วในปี ศักราช๗๙๑ ปีกาบเล้าศาสนาร่วงแล้ว ๑๙๗๑ เดือน ๙ ออก ๖ ค่ำ ก็กลับคืนมา ต่างองค์ก็สั่งสอนศาสนาในสาระทิศต่างๆ เมื่อพระญาณคัมภีระไปในทิศทางใด คนก็เข้าไปบวชเรียนและเรียนพระธรรมวินัยเป็นอันมาก ทำให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่นั้นมา
ลำดับพระญาณคัมภีระเป็นฆราวาสได้ ๑๓ ปี บวชเป็นสามเณรได้ ๘ พรรษา เป็นพระได้ ๑๑ พรรษา ไปอยู่วัดบ้านลานกุมกามหัวเวียง ๒ พรรษา ไปอยู่ลังกา ๕ พรรษา ไปอยู่อโยธยา ๑ พรรษา ไปอยู่สุโขทัย ๑ พรรษา ไปอยู่ละกอน ๓ พรรษา ไปอยู่เมืองวัน ๑ พรรษา มาถึงปีเต่าสันศักราช ๘๑๕ พญาแก้วตาหลวงไปอาราธนาพระญาณคัมภีระที่เมืองวังกลับนครพิงค์ พอเดินทางมาถึงบ้านเชิงดอยหัวเวียงเมือง พระญาณคัมภีระป่วยเป็นไข้ป่าได้ถึงมรณภาพ ณ ที่นั้น ซึ่งปัจจุบันคือ พระธาตุดอยเกิ้งญาณคัมภีระ วัดบ้านขาม จังหวัดลำปาง สิริรวมอายุได้ ๖๒ ปี
วัดนันทาราม ยังมีอดีตเจ้าอาวาสที่สำคัญ นั่นคือ พระครูสารภังค์ นามเดิม เจ้าเทพวงศ์ ณ เชียงตุง เลื่อนขั้นเป็นพระครูประทวน พระครูเทพวงศ์ ฉายา เทววํโส เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีการประชุมสงฆ์ ข้าราชการเจ้านาย โดยมีพ่อเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เจ้าคุณพระธรรมวโรดมเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ ได้แต่งตั้งพระราชาคณะ เจ้าอาวาสวัดต่างๆ และได้แต่งตั้งเจ้าตุ๊เทพวงศ์ สังฆราชที่ ๗ วัดนันทารามแขวงเมืองเชียงใหม่ ขึ้นเป็นพระครูเทพวงศ์ และปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ปีวอก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานเครื่องบริขารขึ้นมา ๕ สำรับ ทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์พระราชทานทินนนาม พระครูเทพวงศ์ วัดนันทาราม เป็นพระครูสารภังค์ ตำแหน่งพิเศษเป็นพระอุปัชฌายะ และสังฆราชา องค์ที่ ๗ เจ้าคณะแขวงสะมิง ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พระครูสารภังค์ เจ้าคณะแขวงสะเมิงพ้นจากตำแหน่ง ยกขึ้นเป็นเจ้าคณะแขวงกิตติมศักดิ์ เพราะชราภาพ
ท่านพระคุณเจ้าเป็นเชื้อราชวงศ์เชียงตุง มีพระอุปนิสัยน้อมทางเนกขัมมะบารมี บรรพชาอุปสมบทมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธศาสนา บำเพ็ญศาสนกิจจนตราบอายุขัย พระคุณท่านสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้คณะสงฆ์เมืองเชียงใหม่ และวัดนันทารามมากองค์หนึ่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์
โบราณสถาน :
โบราณวัตถุสถานที่สำคัญภายในวัดนันทาราม ประกอบด้วย
พระบรมธาตุเจ้าเจดีย์ ซึ่งถือเป็นปูชนียสถานที่ทางตำนานพื้นเมืองและตำนานโยนกนครกล่าวรับรองถูกต้องพร้องกันว่า เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดามาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์แล้ว และเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๒ เดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันอาทิตย์ พระเจ้าปนัดดาธิราชฯ ทรงให้สร้างพระเจดีย์องค์ สูง ๓๐ ศอก กว้าง ๒๐ ศอก ครึ่งครอบพระเจดีย์องค์เดิมซึ่งสูงเพียง ๓ ศอก และพระองค์ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระภิกษุชาวลังกาไว้ที่บนคอระฆัง เมื่อนับถึงกาลปัจจุบันมีอายุได้ ๔๘๘ ปีล่วงมาแล้ว
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระอธิการอิ่นแก้ว ธมฺมรตโน (มณีรัตน์) เมื่อได้รับเป็นสมภารเจ้าวัดก็ได้ทำการยกฉัตร ปิดทองใหม่พระธาตุ และหล่อฉัตรจัตุรมุข ทั้ง ๔ ด้าน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้หุ้มแผ่นทองเหลือง จำนวน ๑,๓๐๔ แผ่น รอบองค์พระเจดีย์พร้อมทั้งลงรักปิดทอง และสร้างรั้วเหล็กรอบองค์พระเจดีย์ และรางเหล็กไว้เพื่อจุดเทียนรอบองค์พระเจดีย์ การบูรณะพระเจดีย์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยการนำของท่านพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร และได้ฉลองสมโภชเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๔๓ และเมื่อกำหนดวันเดือนเป็ง เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ทางวัดจะจัดให้มีงานประเพณีสรงน้ำพระ และองค์พระเจดีย์ขึ้นเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันมาแต่โบราณ ตราบจนทุกวันนี้
พระพุทธไสยาสน์โบราณองค์ใหญ่ หรือพระนอน ยังไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่มีความสวยงามยิ่งนัก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ทอดพระเนตรไปหาองค์พระเจดีย์ มีวิหารครอบอย่างถาวร พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีขนาด พระอุระกว้าง ๘๒ ซม., พระพักตร์ยาว ๗๐ ซม., พระบาทยาว ๗๓ ซม., พระพาหายาว ๓.๔ ซม., พระโมลียาว ๔๗ ซม., พระเศียรวัดโดยรอบ ๑.๓ ซม., พระวรกายยาวจากพระโมลี – พระบาท ๑๒๐ ซม.
พระวิหาร ตั้งอยู่อย่างสง่างาม เป็นรูปแบบศิลปกรรมแบบล้านนาไทยโดยแท้ สร้างขึ้นแล้วบูรณะซ่อมแซมสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕ พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ล่องลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติยศเพิ่มขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่แล้ว กราบถวายบังคมทูลลากลับเชียงใหม่ จึงให้สร้างพระวิหารวัดนันทาราม เมื่อวันเสาร์เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ ปีระกา ตรีศก และให้ปั้นรูปพระยาครุฑ บิดแขวนโอบรอบอกพระยานาค ๒ ตัว ข้างบันไดซ้าย-ขวา คือสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ถือเป็นศิลปกรรมอันงดงามที่ไม่ซ้ำแบบวัดอื่นๆ ในเมืองเชียงใหม่
พระอุโบสถ ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สูง ๑ ชั้น ลักษณะทรงล้านนา เมื่อวันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ พระอธิการอิ่นแก้ว ได้ทำการรื้ออุโบสถหลังเดิม และทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยไว้รูปทรงแบบเดิม และได้ทำการทำบุญฉลองเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖-๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ หลังจากนั้นพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร (สุวรรณ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ทำการปฏิสังขรณ์ในส่วนที่ชำรุด และปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบพระอุโบสถ และได้ทำการถวายไว้ในพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
หอธรรม หรือ หอไตรปิฎก หอธรรมหลังเดิมนั้นสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระธรรมกิตติ อดีตเจ้าอาวาสวัดนันทาราม ต่อมา วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีเส็ด พระอธิการอิ่นแก้ว ได้สร้างศาลาบาตรรวมหอธรรมหรือหอไตร ออกแบบถาวร รูปแบบศิลปกรรมแบบผสม แล้วได้ทำบุญฉลองสมโภช เมื่อวันที่ ๕-๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ตรงกับเดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๗-๙ ค่ำ ปีจอ
ส่วนหอธรรมหลังใหม่ ซึ่งได้สร้างแทนหอธรรมหลังเดิมนั้น ตั้งอยู่บริเวณหลังพระวิหารทางด้านทิศเหนือ ในลักษณะทรงล้านนาประยุกต์ สีขาว มีลักษณะเด่นสวยงาม ได้สร้างแล้วเสร็จ และถวายไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗
ซุ้มประตูโขง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นการสร้างเพื่ออนุรักษ์ซุ้มประตูโขงของเดิมไว้ พร้อมกับก่อสร้างกำแพงด้วยศิลาแลง
รูปปั้นพระญาณคัมภีระ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยพระอธิการอิ่นแก้ว ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระญาณคัมภีระ ที่ทรงมีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อวงการคณะสงฆ์ของล้านนาไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ด้านข้างของอุโบสถวัดนันทาราม
บ่อน้ำโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระธรรมกิตติ และเคยใช้น้ำในบ่อน้ำแห่งนี้สรงพระธาตุ ในงานสรงน้ำพระธาตุประจำปีเป็นประจำทุกปี
วัดนันทารามแห่งนี้ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญมากในอดีต ครั้งหนึ่งได้เคยใช้สถานที่แห่งนี้จัดถวายพระเพลิงพระบรมศพของกษัตริย์ คือพระเจ้ายอดเชียงราย และเคยเป็นที่พำนักของพระราชาคณะชั้นสมเด็จ คือ สมเด็จพระธรรมกิตติ ในสมัยรัชกาลพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์เชียงใหม่ล้านนา ทั้งยังเป็นศูนย์การศึกษาศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีหลายสาขา เช่น การศึกษาอักษรพื้นเมือง อักษรฝักขาม อักษรขอมเมือง อักษรไทยใหญ่ ภาษาบาลี การเทศน์ทำนองมหาชาติแบบเมืองเหนือ การจารอักษรลงบนใบลาน ตำรายาโหราศาสตร์ และยังเป็นสถานที่ทัศนศึกษาแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีโบราณวัตถุ โบราณสถาน และใบลานตำราต่างๆ สำหรับค้นคว้ามากมาย
กิจกรรมที่สำคัญของวัดนันทารามคือการเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา การสืบทอดและสืบสานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น การจัดประเพณีสรงน้ำพระธาตุ เป็นประจำทุกปีเมื่อถึงกำหนดวันเดือนเป็ง เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ทางวัดปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันวัดนันทาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร (สุวรรณ) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙- ปัจจุบัน ท่านพระปลัดบุญธรรม ธมฺมวโร ได้พัฒนาวัด และรักษาขนบธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามของวัดมาโดยตลอด ทำให้วัดนันทารามมีความสวยงาม สะอาด สงบ ร่มรื่น มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ที่ยังคงคุณค่าของความเป็นล้านนา เป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ศรัทธาประชาชน และเป็นศูนย์รวมในการประกอบกิจกรรมทั้งของวัดและชุมชน เช่น ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุเจ้า กิจกรรมพัฒนาชุมชน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน เหมาะแก่การอนุรักษ์ รักษาให้คงอยู่สืบต่อไป
ขอบคุณผู้เขียนบทความ ที่มา : http://www.lannatalkkhongdee.com/templeDetail.php?id=Temp0800008
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
For more information please contact us
053203895-9 or rsvn@chiangmaigatehotel.com